ระเบียบข้อบังคับสมาคม

กฏระเบียบข้อบังคับ

ของ

สมาคมปกป้องพระพุทธศาสนา

 หมวดที่  1.  ชื่อ สถานที่ตั้ง

                 ข้อ  1.  สมาคมนี้ชื่อว่า  “สมาคมปกป้องพระพุทธศาสนา” ใช้อักษรย่อภาษาไทยว่า "สปพ." 

                         เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า  “เดอะโพรเท็คชั่นออฟบุดดิสม์แอสโซซิเอชั่นออฟไทยแลนด์” 

                   และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า  “THE PROTECTION OF BUDDHISM ASSOCIATION”  มีอักษรย่อภาษาอังกฤษ "TPBA" 

            ข้อ  2.  สำนักงานของสมาคมตั้งอยู่ที่  596 หมู่ 5 บ้านมะขามป้อม ตำบลธาตุนาเวง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000

 

หมวดที่  2.  วัตถุประสงค์

 

            ข้อ  3.  วัตถุประสงค์ของสมาคม

                       1. เพื่อธำรงค์และเชิดชูไว้ซึ่ง 3 สถาบันหลัก อันมี ชาติ ศาสนาพุทธ และ สถาบันพระมหากษัตริย์

                       2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย

                       3. ส่งเสริมและสนับสนุนร่างกฏหมายคุ้มครองคณะสงฆ์

                       4. ส่งเสริมและสนับสนุนความเท่าเทียมกันทางกฏหมายของทุกศาสนิกชน

                       5. เพื่อเป็นศูนย์รวมของพี่น้องชาวไทยพุทธทั่วโลก จรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไปอย่างยั่งยืนนาน

                      6. จัดตั้งศูนย์และเครือข่ายระวังภัยพระพุทธศาสนาทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั่วประเทศ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ของพุทธบริษัท 4 

                      7. จัดตั้งศูนย์ประสานงานของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ เพื่อสะดวกในการประสานงาน 

                      8. เพื่อจัดอบรมบ่มนิสัยแก่เยาวชนของชาติ ให้เข้าใจถึงความสำคัญของการสืบสานประเพณี วัฒนธรรม อันดีงามของชาติที่บรรพชนได้ถ่ายทอดและปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน

                      9. เพื่อเผยแพร่พระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธะเจ้า ให้เข้าถึงจิตใจของพุทธศาสนิกชนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

                     10. เพื่อให้พุทธศาสนิกชน และเยาวชนของชาติได้บวชเรียนหรือได้ศึกษาธรรมะให้เข้าใจยิ่งขึ้น โดยการจัดอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

                     11. ส่งเสริมอบรมความรู้แก่พุทธบริษัททั้ง 4 ให้เข้าใจในพระธรรมวินัย เพื่อจะได้ทำหน้าที่ดูแลรักษาพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ด้วยความสง่างาม

                     12. จัดให้มีสถานที่อบรมและพัฒนาจิตใจของพี่น้องชาวไทยพุทธเดือนละ 2 ครั้ง 

                     13. เพื่อคงไว้ซึ่งความเป็นธรรมแก่บุคลากรในพุทธศาสนสถาน

                     14. ทำหน้าที่ปกป้องพุทธศาสนสถาน

 

                                วัตถุประสงค์ทุกประการไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง

 

หมวดที่  3.  สมาชิก

 

            ข้อ  4.  สมาชิกของสมาคม มี  2  ประเภท

                         ก.  สมาชิกสามัญ  ได้แก่  พุทธศาสนิกชนทั่วไป

                         ข.  สมาชิกกิตติมศักดิ์  ได้แก่  พระภิกษุสงฆ์ ผู้ทรงเกียรติ

             ข้อ  5.  ผู้สมัครเป็นสมาชิก  ต้องทำคำขอตามแบบของสมาคมยื่นต่อสมาคม ใบสมัครเช่นว่านี้   ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า  1  คนลงลายมือชื่อรับรองว่า 

 ผู้สมัครไม่เป็นบุคคลที่ควรรังเกียจ  และคณะกรรมการจะเป็นผู้พิจารณาลงมติเห็นชอบว่า ควรรับสมัครเป็นสมาชิกหรือไม่  มติของคณะกรรมการเป็นที่สุด 

             ข้อ  6.  สิทธิของสมาชิกมีดังนี้

                         ก.  มีสิทธิใช้สถานที่ของสมาคม

                         ข.  มีสิทธิเข้าฟังการประชุม  แสดงความคิดเห็น  แต่สมาชิกสามัญเท่านั้น  มีสิทธิเสนอมติแล้วออกเสียงลงคะแนนหรือได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการ

                    ข้อ  7.  หน้าที่ของสมาชิก

                         ก.  ปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคมและระเบียบซึ่งกรรมการได้กำหนดขึ้น

                         ข.  ส่งเสริมและร่วมมือในกิจการของสมาคม

                         ค.  รักษาและดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงของสมาคม

                         ง.  ชำระค่าจดทะเบียน  ค่าบำรุงตามระเบียบข้อบังคับของสมาคม 

                            เว้นแต่สมาชิกกิตติมศักดิ์ย่อมได้รับเกียรติจากสมาคมไม่ต้องเสียทั้งค่าจดทะเบียนและค่าบำรุง

                         จ.  การชำระค่าจดทะเบียนสมาชิก  และค่าบำรุงสมาคมต้องชำระล่วงหน้า 

                             โดยจำนวนเงินและกำหนดเวลาชำระเงินจะประกาศให้ทราบ ณ  ที่ทำการสมาคมโดยมติที่ประชุมกรรมการ

             ข้อ  8.  การขาดจากสมาชิกภาพ

                         ก.  สมาชิกย่อมขาดจากสมาชิกภาพ  เมื่อ

                                     (1)  ตาย

                                     (2)  ลาออก  โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงคณะกรรมการ และคณะกรรมการอนุมัติให้ผู้นั้นลาออกจากการเป็นสมาชิกแล้ว

                                     (3)  คณะกรรมการมีมติให้ลงชื่อออกจากทะเบียน  เมื่อสมาชิกผู้นั้น

                                                 1.  ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาของศาล  (เว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือ

                                                      ความผิดฐานประมาท)  หรือถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย,ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

                                                 2.  ประพฤติตนในทางเป็นปฏิปักษ์ต่อสมาคม

                                                 3.  ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคม  หรือระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดไว้โดยเคร่งครัด                                             

                                                 4.  ไม่ชำระค่าบำรุงของสมาคมตั้งแต่  2  ปีขึ้นไป  และทางสมาคม ได้ทวงถามให้ผู้นั้นชำระค่าบำรุงแล้ว 

                                                     โดยให้เวลาไม่น้อยกว่า  30 วันแล้ว

 

คุณสมบัติของสมาชิก

1. อายุ 18 ปีขึ้นไป

2. นับถือศาสนาพุทธ

3. สามารถประชุมกับสมาคมได้ปีละครั้ง ไม่ว่าจะโดยบุคคลหรือออนไลน์

4. สมาชิกต่างประเทศรายงานความคืบหน้าของชุมชนพุทธศาสนาใกล้บ้านให้เพื่อนสมาชิกทางประเทศไทยรับทราบในกรณีมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

5. ให้ความร่วมมือกับสมาคมปกป้องพระพุทธศาสนาในโครงการที่สมาคมฯจัดทำ

 


หน้าที่ของสมาชิกสำหรับผู้ที่อาศัยในประเทศไทยและต่างประเทศเหมือนกันคือ

1. ช่วยกันเผยแพร่ข่าวสารที่ทางสมาคมผลิตและรวบรวมขึ้นมาเพื่อสร้างความตื่นรู้ในภัยของอิสลามที่มีต่อชาติ ศาสนาพุทธ และพระมหากษัตริย์ ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ของสมาคม

2. ช่วยกันรณรงค์รายชื่อให้ครบ 50,000 รายชื่อ สำหรับการร่างกฏหมายใหม่แต่ละฉบับ ซึ่งจะมีอีกหลายฉบับที่ต้องยกเลิก ในมหาดไทย ( พรบ บริหารองค์กรอิสลาม )

ในกระทรวงศึกษาธิการ (อิสลามศึกษาที่บรรจุอยู่ในสพฐ. ในขณะที่พระพุทธศาสนาและหน้าที่พลเมืองกลับกลายเป็นวิชาเลือกและเสริม อิสลามศึกษาเป็นวิชาหลัก 

นอกจากนั้นมีการพยายามบิดเบือนประวัติศาสตร์ไทยว่าอิสลามเป็นคนรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับกษัตริย์ไทยมาตลอด ทั้วที่พวกนี้คือกบฏแผ่นดินทุกยุคทุกสมัยแม้แต่ยุคปัจจุบัน 

นายแช่ม พรหมยงค์ เป็นผู้ร่วมก่อการปฏิวัติพระมหากษัตริย์ ร 7 เมื่อ ปี 2475 และเป็นผู้คุมตัวราชวงศ์ไปกักไว้ที่พระที่นั่งอนันต์ ต่อมานายแช่ม พรหมยงค์ 

ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง และเริ่มสร้างรากแก้วที่แข็งแรง เช่นการออกกฏหมายศาสนาอิสลามขึ้นมาในปี2488,2489,2490,2491 

ให้อิสลามในประเทศไทยนับแต่นั้นมา ) ในกระทรวงวัฒนธรรม (ที่อิสลามเข้าไปแอบสร้างรากฐานเอาไว้  อิสลามพยายามจะสร้างสถานการณ์ตีวัฒนธรรมไทยออกจากสังคมด้วยการออกกฏหมายมาบีบ)

3. สมาชิกทุกคนมีหน้าที่ทำความเข้าใจในภัยและกฏหมายอิสลามเพื่อจะได้เป็นแม่แบบในการให้ความรู้แก่ประชาชนไทยต่อไป

4. . สมาชิกทุกคนต้องสามารถขยายสมาชิกได้คนละ 10

5. ให้ความเคารพ ในชาติ ศาสนาพุทธ และพระมหากษัตริย์

6. สมาชิกทุกคนมีหน้าที่ปกป้องเกียรติ ชื่อเสียงของสมาคมฯ หากใครคิดทำลายชื่อเสียงของสมาคมไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมจะลบออกจากการเป็นสมาชิกภาพทันที 

7. สมาชิกของสมาคมมีหน้าที่ส่งเสริมให้สมาคมฯทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ทั้ง 16 ข้อ ตามที่ได้จดทะเบียนไว้กับนายทะเบียน 

8. สมาชิกมีสองประเภท คือสามัญ หรือสมาชิกบริหาร และ วิสามัญ หรือสมาชิกทั่วไป 

8.1 สมาชิกสามัญมีค่าแรกเข้า 100 บาท ค่าสนับสนุนสมาคมปีละ 500 บาท  มีสถานะเป็นสมาชิกบริหารมีสิทธิ์ออกเสียงในการเลือกกรรมการและนายกสมาคม

8.2 สมัครสมาชิกตลอดชีพ 2000บาท 

8.3 สมาชิกวิสามัญ ไม่มีค่าใช้จ่าย

 

หมวดที่  4.  คณะกรรมการ

             ข้อ  9.  คณะกรรมการประกอบด้วย

                         ก.  กรรมการบริหาร

                         ข.  กรรมการที่ปรึกษา  เป็นผู้ที่คณะกรรมการเห็นควรเชิญเข้ามาเป็นกรรมการโดย

                                  เป็นผู้ที่มีความสามารถ  หรือทรงคุณวุฒิพิเศษ

                         กรรมการบริหารประกอบด้วย  กรรมการไม่น้อยกว่า  5  คน  ซึ่งที่ประชุมใหญ่  เลือกตั้งจากสมาชิกสามัญที่ยังดำรงสมาชิกภาพอยู่

                         ให้คณะกรรมการบริหารเลือกตั้งกันเองทำหน้าที่ได้แก่

 -          นายก

 -          อุปนายก

 -          เลขาธิการ

 -          เหรัญญิก

 -          นายทะเบียน

 -          ปฏิคม

 -          ตำแหน่งอื่นๆ  ซึ่งจำเป็นแก่การบริหารงานของสมาคม

 คณะกรรมการบริหารสมาคมดำรงตำแหน่งได้วาระละ 2 ปี  นายกดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน

             ข้อ  10.  อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ

                         ก.  บริหารกิจการของสมาคมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์  ข้อบังคับ  และข้อกำหนด

                               ของที่ประชุมใหญ่  กับทั้งมีอำนาจตั้งอนุกรรมการเพื่อดำเนินการใดๆ  ตามอำนาจและหน้าที่นั้นๆ  ก็ได้

                         ข.  กำหนดระเบียบและวิธีการ  ซึ่งไม่ขัดแย้งต่อวัตถุประสงค์และข้อบังคับสมาคม

                        ค.  นายก  มีหน้าที่ควบคุมกิจการสมาคม  และเป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก

                              อุปนายก  มีหน้าทีทำการแทนนายก เมื่อนายกไม่อยู่หรือไม่สามารถทำการได้ และเป็นผู้ช่วยนายกปฏิบัติการใดๆ  ที่นายกมอบหมาย

                              เลขาธิการ  มีหน้าที่นัดประชุมกรรมการ  การประชุมใหญ่   จัดและรักษารายงานการประชุม 

                             ติดต่อกับสมาชิกและบุคคลภายนอกในเรื่องทั่วๆ ไป  และในกิจการอื่นๆ  ที่มิได้อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของกรรมการ  หรืออนุกรรมการอื่นโดยเฉพาะ

                             เหรัญญิก  มีหน้าที่จ่ายและรักษาเงินตลอดจนการทำบัญชีและรักษาเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับการเงิน

                             นายทะเบียน  มีหน้าที่ทำและรักษาทะเบียนของสมาชิก  ตลอดจนเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเป็นสมาชิก

                             ปฏิคม  มีหน้าที่ต้อนรับสมาชิกและแขกของสมาคมหรือสมาชิก  และรักษาสถานที่ของสมาคมและพัสดุ

                        ง.  การประชุมคณะกรรมการ  ต้องมีกรรมการบริหารมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวน  จึงเป็นองค์ประชุมได้ 

                             และให้ประชุมกรรมการตามปกติไม่น้อยกว่า  3 เดือนครั้ง

            ข้อ  11.  กรรมการพ้นจากตำแหน่ง

                         ก.  ถึงกำหนดออกตามวาระ

                         ข.  ขาดจากสมาชิกภาพของสมาคม

                         ค.  ลาออกจากตำแหน่งกรรมการ

                        ง.  ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้พ้นจากตำแหน่ง

                        จ.  ไม่มาประชุมกรรมการ  3  คราวติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

              ข้อ  12.  ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุใด  ให้คณะกรรมการแต่งตั้งสมาชิกผู้ได้รับ

                          เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ตามลำดับคะแนนรองลงไป  และกรรมการผู้ได้รับเลือกตั้งซ่อมนั้นจะดำรงตำแหน่งได้เท่าวาระของผู้ที่ตนแทน 

                          คณะกรรมการจะดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ได้รับเลือกตั้งจนกว่าที่ประชุมใหญ่จะเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่

             ข้อ  13.  อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการที่ปรึกษา

                        ก.  กรรมการที่ปรึกษา  มีสิทธิเข้าร่วมกับคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณากิจการ ของสมาคม 

                             หรือให้ข้อคิดในการดำเนินการต่างๆ  แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

                        ข.  กรรมการที่ปรึกษาอยู่ในตำแหน่งได้เท่าวาระของกรรมการบริหาร

                         ค.  กรรมการที่ปรึกษาซึ่งพ้นตำแหน่งตามวาระแล้ว  อาจได้รับเชิญเข้าเป็นกรรมการที่ปรึกษาใหม่ได้

             ข้อ  14.  มติของที่ประชุมกรรมการ  ให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก  ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน  ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด

            ข้อ  15.  กรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า  1  ใน  5  ของกรรมการทั้งหมด  มีสิทธิขอให้เรียกประชุมคณะกรรมการได้  เมื่อมีเหตุผลสมควร  ให้นายกเรียกประชุมคณะกรรมการตามคำขอทันที  โดยแจ้งให้คณะกรรมการทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า  2  วัน

 หมวดที่  5.  การประชุมใหญ่

            ข้อ  16.  ให้มีการประชุมใหญ่ทุกปี  เพื่อพิจารณาระเบียบวาระต่อไปนี้

                        ก.  เพื่อพิจารณารายงานกิจการของคณะกรรมการบริหารเกี่ยวกับกิจการของสมาคม ซึ่งคณะกรรมการนั้นได้บริหารมา

                         ข.  เพื่อพิจารณาและอนุมัติบัญชีงบดุลสำหรับปีที่ล่วงมาแล้ว

                         ค.  เพื่อเลือกตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี

                         ง.  เพื่อปรึกษาพิจารณาเรื่องอื่นๆ 

            ข้อ  17.  ให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการใหม่ทุก  2  ปี  ภายในเดือนเมษายนของปีถัดไป

            ข้อ  18.  นอกจากการประชุมใหญ่สามัญ  คณะกรรมการอาจเรียกประชุมใหญ่วิสามัญได้  หรือสมาชิกไม่น้อยกว่า  20  คน  จะลงชื่อร้องขอให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญก็ได้  เมื่อนายกได้รับคำขอเช่นนี้ให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ  โดยกำหนดนัดประชุมภายใน  15  วันนับแต่วันที่สมาชิกร้องขอ

             ข้อ  19.  ในการประชุมใหญ่  จะต้องแจ้งวันนัดประชุมให้สมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า  7  วัน

             ข้อ  20.  ในการประชุมใหญ่  จะต้องมีสมาชิกผู้มีสิทธิออกเสียงมาประชุมไม่น้อยกว่า  20  คน  จึงจะเป็นองค์ประชุม  ญัตติใดๆ  เว้นแต่ที่เสนอโดยคณะกรรมการหรือกรรมการคนใดคนหนึ่งต้องมีสมาชิกรับรอง  3  คนเป็นอย่างน้อย

             ข้อ  21.  ในการประชุมใหญ่สามัญ  ถ้าสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุม  ก็ให้นัดประชุมใหม่ภายใน  30  วัน  และในการนัดประชุมใหม่นั้นมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่า  10  คน  ก็ให้ถือเป็นองค์ประชุมได้

             ข้อ  22.  สมาชิกทั้งหลายมีสิทธิเข้าฟังการประชุม  และแสดงความคิดเห็น  แต่สมาชิกสามัญเท่านั้นมีสิทธิเสนอญัตติและออกเสียงลงคะแนน  การออกเสียงลงคะแนนเป็นสิทธิเฉพาะตัวของสมาชิกจะแต่งตั้งตัวแทนไม่ได้

             ข้อ  23.  มติของที่ประชุมใหญ่ให้ถือตามเสียงข้องมาก  หากคะแนนเสียงเท่ากัน  ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงชี้ขาด

 หมวดที่  6.  การเงินและการบัญชี

             ข้อ  24.  การเงินของสมาคมอยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของ  นายก  อุปนายก  เลขาธิการ  เหรัญญิก  การจ่ายเช็คของสมาคมให้นายก  หรือ  เลขาธิการ  คนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อร่วมกับเหรัญญิก  และประทับตราของสมาคม

             ข้อ  25.  ให้เหรัญญิกจัดให้มีการเงินของสมาคมพร้อมด้วยใบสำคัญและหลักฐานให้ถูกต้องตามหลักวิชาการบัญชี  การรับเงินทุกประเภทต้องมีหลักฐานการรับเงิน  การจ่ายเงินทุกรายต้องมีใบสำคัญอันมีรายการจำนวนเงินถูกต้อง  ซึ่งได้รับอนุมัติจากนายก  หรือผู้ได้รับมอบหมาย หลักฐานการรับจ่ายต้องเก็บรักษาไว้  เพื่อการตรวจสอบโดยเรียบร้อยครบถ้วนตามกฎหมาย

            ข้อ  26.  ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ  ของสมาคมได้ไม่เกินครั้งละ  100,000 บาท  (หนึ่งแสนบาทถ้วน)  ถ้าเกินกว่านั้นให้ขออนุมัติจากคณะกรรมการก่อน

             ข้อ  27.  เงินของสมาคมเมื่อมีเกินกว่า  5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)  ให้ฝากในธนาคารใด  ธนาคารหนึ่งที่คณะกรรมการเห็นชอบในนามของสมาคม

             ข้อ  28.  บัญชีของสมาคมสิ้นสุดเพียงวันที่  31  ธันวาคม  ของทุกปี  เหรัญญิกต้องทำบัญชีงบดุลเสนอให้ผู้สอบบัญชีของสมาคมตรวจ  ภายในเวลาอันสมควร  ที่จะเสนอให้ที่ประชุมใหญ่พิจารณาตามกำหนด

             ข้อ  29.  ให้ที่ประชุมใหญ่แต่งตั้งสมาชิกสามัญ  หรือจากบุคคลภายนอก  ซึ่งมิใช่กรรมการของสมาคมให้เป็นผู้ตรวจสอบบัญชี

            ข้อ  30.  ถ้าผู้ตรวจสอบบัญชี  ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งไว้  พ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุใดๆ  ก่อนทำการสอบบัญชีเสร็จ  คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งผู้สอบบัญชีใหม่  ที่ไม่ใช่กรรมการของสมาคมทำการสอบบัญชีแทน

             ข้อ  31.  ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพเอกสารทั้งของที่เกี่ยวกับบัญชีและการเงินของสมาคม  และมีอำนาจสอบถามกรรมการและพนักงานของสมาคม  เพื่อการดังกล่าวนั้น

 หมวดที่  7.  การแก้ไขข้อบังคับของสมาคม

             ข้อ  32.  ข้อบังคับนี้จะแก้ไขเพิ่มเติมได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่  ซึ่งมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า  3  ใน  4  ของจำนวนสมาชิกสามัญที่เข้าประชุม

 หมวดที่  8.  การเลิกสมาคม

             ข้อ  33.  การลงมติเลิกสมาคมต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า  3  ใน  4  ของสมาชิกทั้งหมด

             ข้อ  34.  ในการเลิกสมาคมไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ  ให้ตั้งผู้ชำระบัญชีเว้นแต่ที่ประชุมลงมติให้เลิกสมาคมนั้นจะได้ลงมติไว้เป็นอย่างอื่น  และเมื่อชำระบัญชีแล้ว  ถ้ามีทรัพย์สินเหลืออยู่ก็ให้โอนให้แก่นิติบุคคลอื่นที่มีวัตถุประสงค์เหมือนหรือคล้ายคลึงกับวัตถุประสงค์ของสมาคมนี้

Visitors: 189,594